ภาชนะสำหรับเพาะปลูกที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุด เนื่องจากเป็นที่รู้จักน้อยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ถึงจะเลือกหยิบถาดเพาะมาใช้ในการเพาะปลูก ถาดเพาะชำ 1 ใบ สามารถใช้เพาะปลูกพืชได้จำนวนมากหากเทียบกับกระถางและถุงเพาะชำ นอกจากนี้ถาดเพาะชำยังมีความแข็งแรง เคลื่อนย้ายก็สะดวก มีหลากหลายขนาดให้เลือก เมื่อใช้เสร็จแล้วยังสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหลายครั้ง แต่จะต้องมีการล้างทำความสะอาด โดยใช้น้ำผสมคลอรีน 15% แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง เสียก่อนอีกทั้งราคามีความสมเหตุสมผล ถ้าเทียบกับการใช้งานถือว่าคุ้มค่าเกินราคาที่จ่ายไปเสียอีก ในแง่ของความสวยงาม ด้วยความที่ถาดเพาะชำ มีการวางรูปแบบแถวของหลุมที่มีระยะห่างเท่ากัน ทำให้พืชที่เราปลูกเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบสวยงาม แถมยังประหยัดพื้นที่ในการปลูกอีกด้วย
ถาดเพาะชำ เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชจำพวกผักสวนครัว ผักที่ลำต้นไม่ใหญ่มาก รวมถึงดอกไม้อีกด้วย ซึ่งถาดเพาะชำแต่ละขนาดก็จะเหมาะสมกับต้นพืชที่แตกต่างกัน เช่น ถาดเพาะ 15 หลุมจะเหมาะกับการเพาะปลูกต้นพืชที่มีอายุในการเพาะปลูก 45 – 60 วันขึ้นไป หรือสามารถปลูกพืชที่มีรากขนาดใหญ่ ต้องการดินในการเจริญเติบโตมาก เช่น อ้อย เป็นต้น ส่วนถาดเพาะ 200 หลุม จะเหมาะกับการเพาะปลูกพืชที่มีก้านยาว อายุในการเจริญเติบโตของต้นพืชสั้นประมาณ 30 วัน เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง เพราะจะเห็นถึงความสม่ำเสมอของการเจริญเติบโตของต้นพืช
ภาชนะสำหรับเพาะปลูก มีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น หาซื้อง่าย ราคาย่อมเยา แต่มีข้อจำกัดเรื่องความทนทน ไม่ค่อยนิยมนำกลับมาใช้ซ้ำ ในด้านความสวยงามและความหลากหลาย ในท้องตลาดมีให้เลือกซื้อถุงเพาะเพียงไม่สี ไม่กี่รูปแบบเท่านั้น ถุงเพาะชำเหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชจำพวกอายุสั้น ได้แก่ ผักที่ลำต้นไม่ใหญ่มาก ที่สามารถรับประทานใบได้ทุกประเภท เช่น โหระพา แมงลัก คะน้า กะเพรา ตะไคร้ หรือผักมีผลก็ได้ เช่น พริก มะเขือม่วง มะเขือเทศ เป็นต้น เพราะผักจำพวกนี้โตเร็ว ให้ผลผลิตเร็ว ไม่เป็นโรคง่าย ถ้าให้ดีแนะนำปลูกพริก เพราะราคาดี ลงมือปลูกแค่ 3 เดือนก็ออกผลแล้ว